วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สาวน้อยมหัศจรรย์(1 โรงเรียน1 ผลิตภัณฑ์)

โลกและการเปลี่ยนแปลง

ให้นักเรียนศึกษาเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง และทำ แบบทดสอบก่อนเรียน ก่อนเข้าเนื้อหานะคะ
โครงสร้างของโลก
1. เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
1.1 ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่
ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้
1.2 ชั้นที่สอง: ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็น
หินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล
2.
แมนเทิล (mantle หรือ Earth's mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 - 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์
3.
แก่นโลก (core)
ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีม
าแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุ
เหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่ คลิ๊กเพื่อเข้าสู่บทเรียนมัลติมีเดีย
3.1 แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 - 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
3.2 แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0
ศึกษาเนื้อหาจบแล้ว ลแงทำ
แบบทดสอบหลังเรียน เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ลูกสาวใครหว่า...(เด็กหญิงศุภัชญา เลิศขามป้อม:น้องปรายฟ้า)

โคนันยอดนักสืบ ตอน คดีมาตกรรมศพล่องหน (1)

ให้นักเรียนลองใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ช่วยโคนันสืบหามาตกรตัวจริงว่าเป็นใคร?

โคนันยอดนักสืบ ตอน คดีมาตกรรมศพล่องหน (2)

ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิพบนักเรียนหน้าเสาธง

วันที่ 24 สิงหาคม 2552 โรงเรียนภูเขียวได้มีโอกาสต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ นายถาวร พรหมมีชัย ตามโครงการผู้ว่าฯ "พบนักเรียนหน้าเสาธง"

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แนวข้อสอบ เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลง

นักเรียนลองฝึกทำข้อสอบ เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลง

ก้านกล้วย2

ดูหนัง ดูละคร แล้วย้อนดูตัวว่ารักประเทศไทยแค่ไหน(กัน)

เทคนิคปฏิบัติการเคมี ม.4

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิคปฏิบัติการเคมี และลองทำข้อสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ คลิ๊กที่นี่ดูรายละเอียด

การประกวดโครงงงานเยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง

วันที่ 25 สิงหาคม 2552 สพท.ชย.2 ได้ดำเนินการจัดการประกวดโครงงานเยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง โดยจัดการแข่งขัน ณ โรงเรียนภูเขียว นักเรียนโรงเรียนภูเขียวที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์จีงได้มีโอกาสได้ดูโครงงานที่เข้าร่วมแข่งขันจำนวนมาก

แนวข้อสอบหน่วยที่ 3 ชีวิตสัตว์และเทคโนโลยีชีวภาพ

ให้นักเรียนลองทำข้อสอบหน่วยที่ 3 เรื่อง ชีวิตสัตว์และเทคโนโลยีชีวภาพ

คำชี้แจง
ข้อสอบมีจำนวน 2 ตอน
ตอนที่ 1 ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X ทับข้อ ก ข ค และ ง ที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. สัตว์อะไรที่ไม่ได้อยู่ในวัฏจักร 3 ขั้น
ก. ไหม ข. ตั๊กแตน ค. จักจั่น ง. แมลงสาบ
2. สัตว์อะไรไม่ได้อยู่ในวัฏจักร 4 ขั้น
ก. ไหม ข. ผึ้ง ค. ผีเสื้อ ง. แมลงปอ
3. สัตว์อะไรไม่ได้อยู่ในวัฏจักรทั้ง 2 อย่างนั้นเลย
ก. ต่อ ข. ตัวสองง่าม ค. มด ง. ตัวชีปะขาว
4. ตัวอ่อนตั๊กแตนเป็นอย่างไร
ก. เหมือนตัวเต็มวัย ข. มีความสามารถที่จะสืบพันธุ์ก่อรุ่นลูกหลานได้
ค. คล้ายตัวเต็มวัยแต่อวัยวะบางอย่างไม่เหมือน ง. รูปร่างคล้ายพ่อแม่แต่มีขนาดเล็กกว่าหลายเท่า
5. แมลงวันมีวัฏจักรชีวิตอย่างไร
ก. 3 ขั้น ข. 4 ขั้น ค. 5 ขั้น ง. ไม่มีวัฏจักร
6. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของตัวอ่อนก่อนจะเป็นตัวเต็มวัย เรียกว่าอะไร
ก. เมตาโบลิซึม ข. เมตามอร์โฟซิส ค. เมตามอร์โฟเนีย ง. เมตาสะคาปูลาร์
7. สัตว์ในข้อใดไม่มีเมตามอร์โฟซิส
ก. กบ เขียด ข. จักจั่น จิ้งหรีด ค. แมลงสาบ ตั๊กแตน ง. ตัวสามง่าม งูเหลือม
8. ขั้นตอนการผสมเทียมข้อใดที่ ไม่มี การปฏิบัติ
ก. การละลายน้ำเชื้อ ข. การรีดเก็บน้ำเชื้อ ค. การทำน้ำเชื้อให้เข้มข้น ง. การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ
9. คำว่าน้ำเชื้อ หมายถึงอะไรในการผสมเทียมโคและสุกร
ก. เชื้ออสุจิ ข. ไข่จากเพศเมีย ค. สารเคมีที่ผสมขึ้น ง. เชื้อสืบพันธุ์สองเพศ
10. การผสมเทียมวัวและสุกร ได้ประโยชน์ในข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง
ก. ผสมกับแม่พันธุ์ได้มาก ข. สัตว์ตกลูกได้ตามฤดูกาล
ค. ประหยัดค่าเลี้ยงดูพ่อพันธุ์ ง. ไม่ต้องเอาพ่อพันธุ์จากต่างจังหวัด
ตอนที่ 2 ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อที่เห็นว่าถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย x หน้าข้อที่ผิด
........1. การผสมเทียมระหว่างปลาดุกกับปลาสวาย ทำไม่ได้เนื่องจากเป็นปลาต่างชนิดกัน
........2. ฮอร์โมนที่ได้จากต่อมใต้สมองปลาเพื่อนำไปฉีดให้กับแม่ปลานั้น เป็นฮอร์โมนจากปลาตัวผู้เท่านั้น จะเป็นฮอร์โมนจากปลาตัวเมียไม่ได้
........3. ปัจจุบันการผสมเทียมปลาบึก ซึ่งเป็นปลาขนาดใหญ่อาศัยในแม่น้ำ ยังทำไม่ได้ผล
........4. น้ำเชื้อสืบพันธุ์จากสัตว์ตัวผู้ ถ้าจะเก็บไว้ให้ใช้ได้นานต้องเก็บในที่เย็นจัด
........5. การเก็บน้ำเชื้อนั้นปกติจะเก็บใส่น้ำยาผสมเชื้อลงไปด้วย ส่วนมากเป็นน้ำยาประเภทเกลือแร่
........6. การผสมเทียมสุกรในปัจจุบันนิยมใช้น้ำเชื้อสดโดยไม่แช่แข็ง
........7. การฉีดน้ำเชื้อแก่สัตว์ตัวเมียนั้น ต้องเลือกเวลาที่สัตว์แสดงอาการเป็นสัด
........8. การฉีดฮอร์โมนให้แม่ปลา เพื่อให้แม่ปลามีไข่สุกเร็วขึ้น
........9. การถ่ายฝากตัวอ่อนในโคนมนั้นใช้วิธีปฏิสนธิภายในแล้วเอาไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไปใส่ในมดลูกแม่โคตัวอื่น
.......10. ขั้นตอนแรกของการถ่ายฝากตัวอ่อนก็คือการฉีดฮอร์โมนให้แม่โคพันธุ์ดี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผลิตไข่จำนวน มาก

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประชุมผู้ปกครองนักเรียนครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2552


การประชุมผู้ปกครองนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ว่าด้วยปีการศึกษา ๒๕๕๒ เป็นปีแห่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน และได้จัดกิจกรรมรณรงค์ “สัปดาห์ ศธ. เยี่ยมบ้านนักเรียน” ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินงาน “ปีแห่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน” เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสร้างเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนในความร่วมมือดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นองค์รวม จึงกำหนดให้มีกิจกรรมรณรงค์ “สัปดาห์ประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน” (Classroom meeting) ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ซึ่งโรงเรียนภูเขียวได้สนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2552 วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยคุณครูเปลี่ยมศรี เลิศขามป้อม ได้เข้าร่วมประชุมผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/3

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2552

ไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2552


เข้าร่วมกิจกรรมวันไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2552 วันที่ 11 มิถุนายน 2552 ณ หอประชุมโรงเรียนภูเขียว

ธาตุและสารประกอบ



ก่อนที่เราจะเรียนเรื่องธาตุและสารประกอบ ครูขอทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องสารและสสารก่อน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจกันสักเล็กน้อย...
สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน มีมวล ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ เช่น ก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชาม ก้อนหินหนึ่งก้อน
สาร (Substance) หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน มีมวล ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้ และทราบสมบัติที่แน่นอน เช่น เหล็ก น้ำ อากาศ เป็นต้น หรือเป็นสสารที่ทราบสมบัติแล้วนั่นเอง
ธาตุ (Element) หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบอะตอมของธาตุเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ธาตุไม่สามารถจะนำมาแยกสลายให้กลายเป็นสารอื่นโดยวิธีการทางเคมี แต่อาจแยกออกโดยวิธีนิวเคลียร์
ธาตุ แบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ
1. ของแข็ง เช่น ตะกั่ว (Pb), เงิน (Ag) และดีบุก (Sn) เป็นต้น
2. ของเหลว ได้แก่ โบรมีน (Br2) และปรอท (Hg) เป็นต้น
3. ก๊าซ เช่น ไนโตรเจน (N2), ฮีเลียม (He) และออกซิเจน (O2) เป็นต้น

สารประกอบ (Compound) หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่เกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปเป็นองค์ประกอบ ซึ่งมารวมตัวกันโดยวิธีการทางเคมี สามารถแยกสลายให้เกิดเป็นสารใหม่หรือกลับคืนเป็นธาตุเดิมได้
ลักษณะทั่วไปของสารประกอบ
สารประกอบแต่ละชนิดมีสมบัติที่แตกต่างกันไป สารประกอบมีสมบัติแตกต่างไปโดยสิ้นเชิงจากสมบัติของธาตุเดิมที่เป็นองค์ประกอบ สารประกอบเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนอนุภาคมูลฐานภายในอะตอม เพื่อให้อยู่ในสภาพที่เสถียร สารประกอบชนิดหนึ่งๆ จะต้องมีอัตราส่วนของธาตุที่เป็นองค์ประกอบคงที่
สารประกอบมีทั้งสถานะที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เช่น
ของแข็ง => กลูโคส (C6H12O6), หินปูน (CaCo3), สนิมเหล็ก (Fe2O3) และปูนขาว (CaO)
ของเหลว => น้ำ (H2O), เอธานอล (C2H5OH) และอะซิโตน (CH3COCH3)
ก๊าซ => คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเธน (CH4) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

การถ่ายฝากตัวอ่อน(embryo transfer)

การถ่ายฝากตัวอ่อน ( embryo transfer)
เป็นการนำ
ตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างตัวอสุจิของพ่อพันธุ์และไข่ของแม่พันธุ์ที่คัดเลือกไว้ แล้วเก็บออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ ต่อจากนั้นนำไปฝากใส่ไว้ให้เติบโตในมดลูกของตัวเมียอีกตัวหนึ่งจนคลอด
วิธีการและขั้นตอนการถ่ายฝากตัวอ่อน
การถ่ายฝากตัวอ่อนจะทำให้ได้ตัวอ่อนมากขึ้น ซึ่งมีวิธีและขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกแม่พันธุ์ที่ดี แล้วกระตุ้นให้ไข่ดกและตกไข่ครั้งละหลายๆฟองด้วยการฉีดฮอร์โมน
2. เตรียมตัวเมียที่จะรับฝากตัวอ่อน โดยใช้ฮอร์โมนฉีดกระตุ้นให้มีความพร้อมที่จะตั้งท้อง
3. ทำการผสมเทียม โดยฉีดน้ำเชื้อของตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์เข้าไปในมดลูกของแม่พันธุ์ในช่วงไข่ตกข้อ 1 หรือปล่อยให้ตัวผู้หรือพ่อพันธุ์ ผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติ ทำให้ไข่หลายฟองได้รับการปฏิสนธิแล้วเจริญกลายเป็นตัวอ่อนอยู่ในมดลุกหลายตัวพร้อมกัน
4. ใช้เครื่องมือดูดเอาตัวอ่อน ออกจากมดลูกของแม่พันธุ์มาตรวจสอบและคัดเลือกเอาเฉพาะตัวอ่อนที่สมบูรณ์ดีเท่านั้นโยต้องใช้ตัวเมียเท่ากับจำนวนของตัวอ่อนที่จะถ่ายฝาก
5. นำตัวอ่อนที่ผ่านการตรวจสอบและคัดเลือก แล้วนำไปใส่ฝากในมดลูกของตัวเมียที่เป็นตัวรับฝากตัวอ่อนที่ได้เตรียมไว้โดยต้องใช้ตัวเมียเท่ากับจำนวนของตัวอ่อนที่จะถ่ายฝาก
ข้อดีของการถ่ายฝากตัวอ่อน
หลังจากการถ่ายฝากตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ในมดลูกจนสมบูรณ์ดี จึงคลอดออกมาพร้อมๆกัน การถ่ายฝากตัวอ่อนมีดังนี้
1. ทำให้ได้ลูกจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์คู่เดียวจำนวนมากในการผสมพันธุ์กันเพียงครั้งเดียว
2. ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตสัตว์ได้เป็นอย่างดี
3. สามารถเก็บรักษาตัวอ่อนเอาไว้ได้นานโดยการแช่แข็งซึ่งสามารถจะนำมาใช้ถ่ายฝากให้กับตัวเมียอื่นๆได้ทุกเวลาตามที่ต้องการ
4. ทำให้ได้ลักษณะสัตว์ที่ดีตามความต้องการในปริมาณมาก

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การโคลนนิ่ง (Cloning)

การโคลนนิ่ง (cloning) คือ การคัดลอก (copy) พันธุ์หรือการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฎิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย แต่ใช้เซลล์ร่างกายในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนของเดิมทุกประการ การโคลนนิ่งเกิดอยู่เสมอในธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนได้แก่ การเกิดฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน กระบวนการโคลนนิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ได้นำมาใช้เป็นเวลานานแล้วโดยเราไม่รู้ตัว ได้แก่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และตัวอ่อนสัตว์ โดยการแยกเซลล์ ซึ่งทำกันทั่วไป
ในวงการเกษตร
การโคลนนิ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง
1. การโคลนนิ่งเพื่อการขยายพันธุ์ (Reproductive cloning) แบ่งเป็น 2 วิธีคือ
1.1 เอ็มบริโอ โคลนนิ่ง (Embryo cloning
) เป็นเทคนิคทางการแพทย์ซึ่งสามารถสร้างคนขึ้นมาใหม่ได้ให้เหมือนกับต้นแบบ ซึ่งอาจเป็นหนึ่ง สอง หรือสาม ซึ่งวิธีการนี้เป็นการลอกแบบการสร้างเด็กแฝดในธรรมชาติ ในส่วนของวิธีการคือ การนำอาเซลล์ 1 หรือมากกว่า 1 ออกมาจากตัวอ่อน (ไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว) จากนั้นใช้เทคนิคการกระตุ้นให้เซลล์ดังกล่าวพัฒนาขึ้นมาเป็นตัวอ่อนตามที่ต้องการ ซึ่งวิธีการนี้ใช้กันในการสร้างสัตว์โคลนนิ่งหลายสายพันธุ์
1.2 ดีเอ็นเอ โคลนนิ่ง (Deoxyribonucleic acid or DNA cloning) หรือการแทนที่นิวเคลียสของเซลล์ เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อการจำลองสัตว์ที่มีชีวิตอยู่และเจริญเต็มที่แล้ว ซึ่งแกะที่ชื่อ “ดอลลี่” ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคนี้ ซึ่งวิธีการคือ การนำเอาดีเอ็นเอบางส่วนออกมาจากไข่ของสัตว์ตัวเมีย แล้วแทนที่ดีเอ็นเอที่ได้จากสัตว์ต้นแบบ ซึ่งโตเต็มที่แล้ว จากนั้นใช้วิธีกระตุ้น แล้วนำไปฝังไว้เพื่อให้พัฒนาขึ้นมาในสัตว์ที่เป็นแม่ วิธีการนี้ยังไม่มีการทดลองในมนุษย์ แต่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถสร้างตัวอ่อนของคนที่เติบโตขึ้นมาเหมือนคนต้นแบบได้
2. การโคลนนิ่งเพื่อการรักษา (Therapeutic cloning
) เป็นการโคลนนิ่งแบบเดียวกันกับดีเอ็นเอแต่มีส่วนแตกต่างกันคือ จะไม่มีการปล่อยให้ไข่ที่ถูกแทนที่ดีเอ็นเอแล้ว เติบโตขึ้นเป็นสัตว์หรือคนเต็มตัว แต่จะใช้ประโยชน์จากการพัฒนาของไข่ ที่ถูกแทนที่ดีเอ็น
เอและถูกกระตุ้นแล้ว ซึ่งจะเป็นการสร้างสเต็มเซลล์ (Stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดขึ้นมา ด้วยการแยกสเต็มเซลล์ออกมาเพื่อพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะหนึ่งอวัยวะใดของคนเต็มรูปแบบ สำหรับนำไปปลูกถ่ายให้กับเจ้าของสเต็มเซลล์ต่อไป ในขณะที่ตัวอ่อนซึ่งถูกแยกสเต็มเซลล์ออกมาแล้วจะถูกทำลาย
ประโยชน์ของการโคลนนิ่ง
1. มีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และพืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ ให้แพร่ขยาย
จำนวนขึ้น ได้รวดเร็วกว่าการผสมกันตามธรรมชาติ
2. ช่วยในการทดลองทางการแพทย์ที่ต้องใช้สัตว์ทดลองเป็นจำนวนมาก
3. เป็นการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อเป็นรูปแบบในการทดลองเพื่อรักษาโรคของมนุษย์
4. คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กำเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสได้บุตรมากขึ้น
5. เพื่อเป็นการผลิตอวัยวะของสัตว์เพื่อการย้ายฝาก
6. ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจได้อวัยวะที่เข้ากันได้ ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
7. ช่วยในการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อผลิตเภสัชภัณฑ์และสารต่างๆด้วยเทคโนโลยีการสอดแทรกยีน
8. ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจขบวนการทำงานของยีนและการจำแนกชนิดของเซลล์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการแพทย์ เช่นในอนาคตเมื่อเราทราบปัจจัยที่ทำหน้าที่ ปิด หรือเปิดการทำงานของยีน จะสามารถรักษาโรคได้ เช่น ผู้ป่วยสมองตายจากอัมพาต ในอนาคตอาจสามารถกระตุ้นให้เซลล์สมองแบ่งทดแทนเซลล์ที่ตายไปได้ หรือผู้ป่วยที่ไตวาย สามารถกระตุ้นการทำงานและแบ่งตัวเซลล์ไตที่เหลืออยู่ทำหน้าที่ทดแทนได้
ข้อเสียของการโคลนนิ่ง
1 .การทำโคลนนิ่งทำให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีในการเป็นต้นแบบ ซึ่งปัญหาอยู่ที่ว่า เราใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าลักษณะอย่างใด ที่เรียกว่าดี อย่างไรไม่ดี เนื่องจากลักษณะอย่างหนึ่ง ในสถานการณ์หรือสภาวะหนึ่ง อาจเป็นสิ่งดี แต่อีกสถานการณ์หนึ่งอาจจะไม่ดีก็ได้ เช่น ผิวดำ กับ ผิวขาว ดีหรือไม่, กรุ๊ปเลือดอะไร ฯลฯ
2. ความเหมือนกัน ทำให้สูญเสียความมีเอกลักษณ์ และความหลากหลาย อันเป็นต้นกำเนิดของวิวัฒนาการ ถ้าทุกคนทุกชีวิต เหมือนกันหมด จะไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีขึ้น
3. การทำโคลนนิ่งในมนุษย์ด้วยจุดประสงค์อันใดก็ตาม ก่อให้เกิดปัญหาจริยธรรมตามมามากมาย เช่น การทำโคลนนิ่งเพื่อต้องการอวัยวะมาเปลี่ยน แล้วจะถือว่าสิ่งที่โคลนขึ้นมาเป็นมนุษย์ด้วยหรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตธรรมดา, ปัญหาทางกฎหมาย ใครเป็นตัวจริง ตัวปลอม, การพิสูจน์บุตร, การค้นหาผู้กระทำผิดในคดีต่าง ๆ, การจำแนกคนโดยใช้การตรวจ DNA เป็นต้น

กีฬาภายใน"เขาเขียวเกมส์" ประจำปีการศึกษา 2552


เข้าร่วมพิธีเปิดกีฬาภายใน "เขาเขียวเกมส์" ประจำปีการศึกษา 2552 ระหว่างวันที่ 18 - 21 สิงหาคม 2552 ณ สนามกีฬาโรงเรียนภูเขียว

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันแม่แห่งชาติ ประจำปี2552


เข้าร่วมงานวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552 ณ หอประชุมอำเภอภูเขียว วันที่ 12 สิงหาคม 2552

เทคโนโลยีชีวภาพสำคัญกับชีวิต(คุณ)อย่างไร

การผสมเทียม (Artificial insemination) หมายถึง การทำให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ ที่มนุษย์เป็นผู้ทำให้เกิดการปฏิสนธิ โดยนำน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์ตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์ไปผสมกับไข่ของสัตว์ตัวเมียที่เป็นแม่พันธุ์ โดยที่สัตว์ไม่ต้องมีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ การผสมเทียมสามารถทำได้กับสัตว์ทั้งที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกายของสัตว์ เช่น การผสมเทียมปลา และการปฏิสนธิภายในร่างกายของสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร แพะ แกะ
ขั้นตอนการผสมเทียม
1.การรีดเก็บน้ำเชื้อ ทำได้โดยใช้เครื่องมือช่วยกระตุ้นให้ตัวผู้หลั่งน้ำเชื้อออกมา โดยต้องพิจารณาถึง อายุ ความสมบูรณ์ของตัวผู้ ระยะเวลาที่เหมาะสม และวิธีการซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ เช่น ไก่ สุกร โค และต้องฝึกให้พ่อพันธุ์เชื่องต่อการรีดน้ำเชื้อด้วยเช่นกัน
2.การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เพื่อตรวจหาปริมาณของตัวอสุจิ และการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูความแข็งแรง อัตราตัวเป็นและตัวตาย
3.การละลายน้ำเชื้อ เป็นการเติมน้ำยาเลี้ยงเชื้อลงในน้ำเชื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อให้เพียงพอ ในการแบ่งฉีดให้กับตัวเมียหลาย ๆ ตัว น้ำยาเลียงเชื้อที่เติม เช่น ไข่แดง Sodium citrate ยาปฏิชีวนะ
4.การเก็บรักษาน้ำเชื้อ มี 2 แบบคือ น้ำเชื้อสด หมายถึงน้ำเชื้อที่ละลายแล้ว และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4-5 องศาเซลเซียส จะอยู่ได้นานเป็นเดือน แต่ถ้าเก็บที่ อุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานประมาณ 4 วัน อีกชนิดคือ ส่วนน้ำเชื้อแช่แข็ง หมายถึงน้ำเชื้อที่นำไปทำให้เย็นจนแข็ง แล้วนำไปเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส สามารถ เก็บได้นานเป็นปี
5.การฉีดน้ำเชื้อ สัตว์ตัวเมียที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแม่พันธุ์ ที่จะได้รับการฉีดน้ำเชื้อ จะต้องอยู่ในวัยที่ผสมพันธุ์ได้ การฉีดน้ำเชื้อ ต้องฉีดในระยะที่ตัวเมียเป็นสัด ซึ่งเป็นระยะไข่สุก สังเกตได้โดย สัตว์จะเบื่ออาหาร กระวนกระวาย ร้องบ่อย มีน้ำเมือกไหลที่อวัยวะสืบพันธุ์ และไล่ขี่ตัวอื่น หรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เยี่ยมบ้านนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/3


สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดให้การดำเนินงานระบบ
การดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนให้เกิดความ
เข้มแข็งต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมีปณิธานร่วมกันให้ “ ปีการศึกษา 2552
เป็นปีแห่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน” และสำนักงานคณะกรรม
การการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดจัด “ สัปดาห์ สพฐ.เยี่ยมบ้านนักเรียน”
ในระหว่างวันที่ 20 – 28 มิถุนายน2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวม
พลังขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและประชาสัมพันธ์ให้เกิด
ความเข้าใจอันดีระหว่างครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคมรับทราบถึงการ
ดูแลเด็กและเยาวชน ซึ่งต้องการความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน
พร้อมทั้งเชิญชวนให้เยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคนอย่างพร้อมเพรียงกัน

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต

การสืบพันธุ์ (Reproduction) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นจะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ได้โดยไม่สูญพันธุ์ การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
1.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)
1.1 การแตกหน่อ (Budding)
1.2 การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission)
1.3 พาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis)
1.4 การงอกใหม่ (Regeneration)
1.5 การสร้างสปอร์ (Spore Formation)
1.6 การขาดออกเป็นท่อน (Fragmentation)
2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
(sexual reproduction)

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คุณรู้จักร่างกายของคุณ(ดี)แค่ไหน

ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ
โครงกระดูกมนุษย์ (Human skeleton) ประกอบไปด้วย
กระดูกชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และอวัยวะต่างๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วงวัยรุ่น
กระดูกจะติดต่อกับกระดูกอีกชิ้น และประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นใน
กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆโดยตรง แต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของคอหอยด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อใกล้เคียง
กระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์คือ
กระดูกต้นขา (Femur) ในขณะที่กระดูกชิ้นเล็กที่สุดคือกระดูกโกลน (Stapes) ซึ่งเป็นกระดูกของหูชั้นกลางชิ้นหนึ่ง
โครงกระดูก มีหน้าที่ที่สำคัญหลายประการ ได้แก่
1. ค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย
2. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ สำหรับการเคลื่อนไหว
3. ป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น
กะโหลกศีรษะที่ห่อหุ้มสมอง หรือซี่โครงป้องกันปอดและหัวใจจากการกระทบกระเทือน
4. เป็นแหล่งผลิต
เม็ดเลือดที่สำคัญ
5. เป็นแหล่งเก็บสะสม
แคลเซี่ยมที่สำคัญของร่างกาย โดยการควบคุมของฮอร์โมนและ
ไวตามิน D3
โครงกระดูกในมนุษย์ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ
โครงกระดูกแกน (axial skeleton) และโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton)
ประเภทของโครงกระดูก แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. โครงกระดูกแกน
โครงกระดูกแกนในผู้ใหญ่ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 80 ชิ้น ซึ่งวางตัวในแนวแกนกลางของลำตัว ซึ่งได้แก่
กะโหลกศีรษะ (Skull) มีจำนวน 22 ชิ้น
กระดูกหู (Ear ossicles) จำนวน 6 ชิ้น
กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น
กระดูกสันหลัง (Vertebral column) จำนวน 26 ชิ้น
กระดูกซี่โครง (Ribs) จำนวน 24 ชิ้น
กระดูกอก (Sternum) 1 ชิ้น
2. โครงกระดูกรยางค์
โครงกระดูกรยางค์ในผู้ใหญ่จะมีทั้งหมด 126 ชิ้น ซึ่งจะอยู่ในส่วนแขนและขาของร่างกายเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว โดยจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่
กระดูกส่วนไหล่ (Shoulder girdle) 4 ชิ้น
กระดูกแขน (Bones of arms) 6 ชิ้น
กระดูกมือ (Bones of hands) จำนวน 54 ชิ้น
กระดูกเชิงกราน (Pelvic girdle) 2 ชิ้น
กระดูกขา (Bones of legs) 8 ชิ้น
กระดูกเท้า (Bones of feet) 52 ชิ้น